----

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ของผู้ที่มีใจรักในศิลปะและการถ่ายภาพค่ะ

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ศิลปะกับการถ่ายภาพ

ปัจจุบันเราจะเห็นว่าผู้ใช้กล้องส่วนใหญ่ เมื่อต้องการถ่ายภาพ มักจะหยิบกล้องขึ้นมา เห็นอะไรแล้วก็ถ่าย หรือพยายามที่จะเก็บรายละเอียดทุกๆอย่าง ทำให้ภาพที่ออกมาดูรกรุงรัง เต็มไปด้วยรายละเอียดหรือวัตถุต่างๆ หาจุดเด่นแทบไม่เจอ

บ้างก็ถ่ายภาพคนออกมาหัวขาด มือขาดก็มี บางภาพก็จัดองค์ประกอบขาดๆเกินๆ ดูขัดกับความรู้สึก ปัญหาต่างๆที่กล่าวมานี้ ล้วนเกิดจากการที่ผู้ถ่ายภาพขาดความรู้ความเข้าใจ ที่เกี่ยวกับ องค์ประกอบของภาพ, จังหวะ, แสงเงา, สีสัน, ความหมาย, จุดเด่น? สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการฝึกฝน บวกกับจินตนาการ และมีเทคนิคหรือหลักการเบื้องต้นที่ผู้ใช้กล้องควรศึกษาเอาไว้บ้าง เพื่อจะได้นำไปใช้ในการวางองค์ประกอบก่อนที่จะกดชัตเตอร์ครั้งต่อๆไป ดังนี้
1.องค์ประกอบของภาพ

หมายถึง การจัดวางสิ่งต่างๆ ลงในภาพ หากเราเปรียบช่องมองภาพ (View finder) ของกล้องเป็นเหมือนเฟรมหรือกระดาษวาดภาพ สิ่งต่างๆที่จะวางอยู่ภายในเฟรมหรือพื้นที่ว่างนั้น ก็คือองค์ประกอบของภาพของเรานั่นเอง ภาพถ่ายที่มีองค์ประกอบของภาพที่ดี มักจะทำให้ภาพดูดี สื่อความหมายได้อย่างชัดเจน ไม่ทำให้คนดูสับสน การจัดองค์ประกอบในการถ่ายภาพ ต่างจากการจัดองค์ประกอบในงานศิลปะแขนงอื่นๆก็คือ บางครั้ง เราไม่สามารถไปยุ่งกับวัตถุ ย้าย หรือขยับวัตถุต่างๆให้อยู่ในตำแหน่งที่เราต้องการได้ เช่น ย้ายต้นไม้ที่ขวางอยู่ออกไป หรือขยับรถที่จอดอยู่ให้ถอยออกไป วิธีแก้ไขก็คือใช้เทคนิคในการถ่ายภาพเข้ามาช่วย เช่น อาจจะย้ายมุมถ่าย ซูมเข้าไปใกล้ๆ หรือใช้การควบคุมการชัดลึก เป็นต้น
ในการถ่ายภาพ มีหลักการวางองค์ประกอบง่ายๆ ที่นิยมคือ ?กฏ 3 ส่วน?

* กฏ 3 ส่วน Rule of Thirds

คนส่วนใหญ่เวลาถ่ายภาพ มักจะวางวัตถุ หรือเลือกตัวแบบให้อยู่ตรงกลางภาพ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดแต่อย่างใด
หากเลือกใช้เป็นครั้งคราวหรือใช้กับภาพถ่ายบางประเภท เช่น ภาพบุคคล ส่วนการถ่ายภาพที่มีองค์ประกอบในภาพหลายหลาย เช่น ภาพเรือลอยอยู่กลางท้องทะเล โดยมีฉากหลังเป็นภูเขาสีเขียว หากจัดวางจุดสนใจไว้ตรงกลางภาพ อาจจะทำให้ภาพดูน่าเบื่อ ขาดความน่าสนใจได้ นักถ่ายภาพส่วนใหญ่จึงนิยมวางภาพในตำแหน่งของ ?กฏ 3 ส่วน? นั่นคือ หากเราลองแบ่งพื้นที่ในช่องมองภาพ ออกเป็น 3 ส่วน โดยลากเส้นแบ่งทั้งด้านกว้างและด้านยาว ตรงบริเวณที่เส้นแบ่งตัดกัน เป็นจุดที่ดึงดูดสายตาของผู้ชมได้มากที่สุด เราจึงควรวางจุดสนใจเอาไว้ตรงบริเวณจุดตัดนั้นๆ เช่นในกรณีภาพถ่ายเรือที่กล่าวถึงข้างต้น ให้เราลองขยับกล้องเพื่อให้เรือมาอยู่ในตรงจุดตัด จุดใดจุดหนึ่ง แล้วจึงบันทึกภาพ ภาพที่ได้ก็จะมีความน่าสนใจมากกว่าวางเรือไว้ตรงกลางภาพ ในกรณีอื่นๆ ก็เช่นกัน ให้เราเลือกวัตถุที่เราต้องการนำเสนอ วางไว้ในตำแหน่งใดก็ได้ ตรงจุดตัดทั้ง 4 จุดนี้? และหากถ่ายภาพที่มีเส้นขอบฟ้า เช่น ภาพทะเลที่มีพื้นน้ำตัดกับเส้นขอบฟ้า เราก็นิยมวางตรงขอบฟ้ากับขอบน้ำนั้นไว้ตรงเส้นแบ่งเส้นใดเส้นหนึ่ง (จาก 2 เส้น) มากกว่าจะวางเส้นตัดของท้องฟ้าไว้ตรงกลางภาพ? (ดูรูปภาพประกอบ)

กฎสามส่วน

วางองค์ประกอบภาพให้ได้ตามกฎ-3-ส่วน

** เรื่องของกฎ 3 ส่วน เป็นที่นิยมกันมากในหมู่นักถ่ายภาพ บางครั้งอาจจะทำให้ภาพที่เราถ่ายออกมา ซ้ำๆกับภาพของคนอื่นๆ หรือภาพที่เห็นกันอยู่ทั่วๆไปตามเวบไซต์หรือโปสการ์ด อย่างไรก็ตาม มือใหม่ทุกคนควรจะฝึกวางองค์ประกอบภาพให้ได้ตามกฎ 3 ส่วน เสียก่อน หลังจากนั้นเมื่อเริ่มชำนาญมากขึ้น จึงค่อยหาแนวทางวาง
องค์ประกอบภาพในแบบที่ตัวเองถนัดอีกที

* ความสมดุล

เรื่องของความสมดุล เป็นหลักการทางศิลปะที่มีมานานแล้ว เนื่องจากการมองสิ่งต่างๆของคนเรามักจะมีความรู้สึกพอใจกับสิ่งที่มีสองด้าน เท่าๆกัน เช่น ตาชั่ง ที่มีแขนข้างซ้ายและขวา คนเราที่มี 2 แขน หนังสือ ที่มีหน้าซ้ายและขวา ฯลฯ หากมีด้านใดด้านหนึ่งที่ขาดหายไป ก็มักจะทำให้เรารู้สึกขัดๆ หรือแปลกๆ ภาพถ่ายก็เช่นกัน โดยปกติ เราควรรักษาความสมดุลภายในภาพถ่ายของเรา ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น

ความสมดุลย์ของการถ่ายภาพ
สมดุล แบบ วัตถุ ซ้าย ? ขวา เท่ากัน

สมดุลแบบน้ำหนักของแสงสี
สมดุ

ความ หมายของ ศิลปะ






ศิลปะเป็นคำที่มี ความหมายกว้าง ไม่จำเพาะเจาะจง
ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ทัศนะคติของแต่ละบุคคลที่จะกำหนดแนวความคิดของศิลปะ
ให้แตกกต่างกันออกไป

คำว่า Art ตามแนวสากลนั้น มาจากคำ Arti และ Arte
ซึ่งเริ่มใช้ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
ความหมายของคำ Arti นั้น หมายถึงกลุ่มช่างฝีมือในศตวรรษที่ 14 , 15 และ 16
คำว่า Arte มีความหมายถึงฝีมือ
ซึ่งรวมถึงความรู้ในการใช้วัสดุของศิลปิน ด้วย
เช่นการ การผสมสี ลงพื้นสำหรับการเขียนภาพสีน้ำมัน
หรือการเตรียมและการใช้วัสดุอื่น ๆ อีก

การจำกัดความให้แน่นอนลงไปว่าศิลปะคืออะไรนั้น เป็นเรื่องยาก เพราะว่า
ศิลปะเป็นงานสร้างสรรค์
ศิลปินมีหน้าที่ สร้างงานที่มีแนวคิดและรูปแบบแปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา
ทฤษฎีศิลปะในสมัยหนึ่งอาจขัดแย้งกับของอีกสมัยหนึ่งอย่างตรงกันข้าม
และทฤษฎีเหล่านั้นก็ล้วนเกิดขึ้นภายหลังผลงานสร้างสรรค์ที่เปลี่ยนแปลง
และก้าวล้ำหน้าไปก่อนแล้วทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม ทัศนะเกี่ยวกับ ความหมายของศิลปะได้ถูกกำหนดตามการรับรู้ และตามแนวคิดต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดยบุคคลต่าง ๆ ซึ่งพอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้

ศิลปะ คือ ผลแห่งความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปลักษณ์ต่าง ๆ
ให้ปรากฏซึ่ง สุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ ความอัจฉริยภาพ
พุทธิปัญญา ประสบการณ์ รสนิยมและทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีหรือ ความเชื่อทางศาสนา ( พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2530 )

ศิลปะ คือ ผลงานการสร้างสรรค์รูปลักษณ์แห่งความพึงพอใจขึ้นมา และรูปลักษณ์ก่อให้เกิดอารมณ์ รู้สึกในความงาม อารมณ์รู้สึกในความงามนั้นจะเป็นที่พึงพอใจได้ก็ต่อเมื่อ
ประสาทสัมผัสของเรา ชื่นชมในเอกภาพ หรือความประสมกลมกลืนกันในความสัมพันธ์อันมีระเบียบแบบแผน
( Herbert Read, 1959)

ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึก สติปัญญา
ความคิด และ/ หรือความงาม
( ชลูด นิ่มเสมอ, 2534 )

ศิลปะ เป็นผลงานที่เกิดจากการแสดงออกของอารมณ์ ปัญญา และทัศนคติ
รวมทั้งทักษะ ความชำนิ ชำนาญของมนุษย์
การสร้างสรรค์งานศิลปะในปัจจุบัน มีแนวโน้มไปในทางการสร้างสรรค์
และการแสดงออกของอารมณ์และความคิด
ดังนั้น งานศิลปะนั้น อย่างน้อยที่สุด ควรก่อให้เกิดอารมณ์ และ ความคิดสร้างสรรค์
กล่าวคือ เป็นงานที่สื่อให้ผู้ชมเกิดจินตนาการ
นอกจากนั้น งานศิลปะที่ดีควรจะมีคุณค่าทางความงาม ซึ่งเกิดจากการใช้องค์ประกอบของสุนทรียภาพ
( วิรัตน์ พิชญ์ไพบูลย, 2524)